Archive for the ‘บทความ’ Category

เครื่องฉีดพลาสติก แบบ Hybrid (Hybrid Injection Machine)

ในปัจจุบันเครื่องฉีดพลาสติกส่วนใหญ่ ใช้ระบบไฮดรอลิค เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เครื่องฉีดพลาสติกที่ส่งกำลังด้วยระบบไฟฟ้า (Electrical Injection machine) ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจาก มีความเที่ยงตรงสูงเนื่องจากใช้ระบบ Ball screw ซึ่งเป็นระบบส่งกำลังเดียวกับเครื่อง CNC และประหยัดพลังงาน โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมัน ส่งผลให้กินไฟต่ำกว่าระบบไฮดรอลิค แต่ยังมีราคาแพง และการซ่อมบำรุงมีค่าใช้จ่ายสูงอยู่ จึงมีการพัฒนาเครื่องฉีดพลาสติก ที่ส่งกำลังด้วยระบบไฮดรอลิคให้ประหยัดไฟมากขึ้นด้วยระบบ Hybrid ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างระบบไฮดรอลิคกับระบบไฟฟ้าในส่วนของ Servo motor เข้าใว้ด้วยกัน

หลักการทำงานของ เครื่องฉีดพลาสติก ระบบ Hybrid
โดยปกติเครื่องฉีดพลาสติกที่เป็นระบบ ไฮดรอลิคเดิม มอเตอร์และปั๊มจะทำงานตลอดจังหวะช่วงการทำงาน โดยเฉพาะช่วง Cooling time และช่วงที่เครื่องฉีดพลาสติกไม่ได้ใช้ความดัน แต่ระบบ Hybrid มอเตอร์เป็นชนิด Servo motor และปั๊มออกแบบพิเศษสำหรับทำงานเท่าที่จำเป็นต้องทำเท่านั้น เช่นช่วง Cooling time มอเตอร์และปั๊มจะหยุดทำงาน และจะทำงานเฉพาะช่วงที่ใช้ความดัน เช่น ช่วงการฉีด และ ปิด-เปิดปากกาเท่านั้น ทำให้ใช้พลังงานน้อยกว่า ความสึกหรอต่าง ๆ น้อยกว่า รวมถึงการใช้ปริมาณน้ำมันที่น้อยกว่าด้วย ส่งผลให้เครื่องฉีดพลาสติกมีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น

ข้อมูลเปรียบเทียบ (ข้อมูลจาก Nissei)

อุณหภูมิของน้ำมันไฮดรอลิค
comparison of temperature rise between Pure Hydraulic injection machine system and Hybrid injection machine system
เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำมันไฮดรอลิคเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของปัญหาที่เกิดกับเครื่องฉีดพลาสติก ความร้อยที่เกิดขึ้นกับน้ำมันเกิดจากการไหลของน้ำมันภายในปั๊ม จากกราฟการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ในการรันเครื่องระยะยาว เครื่องฉีดพลาสติก ระบบ Hybrid จะมีอุณหภูมิที่ต่ำและคงที่กว่าระบบเก่า เนื่องจากปั๊มทำงานน้อยลง น้ำมันที่ไหลภายในปั๊มน้อยลงส่งผลให้ความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิคลดลง และอุณหภูมิคงที่กว่าเนื่องจาก มีช่วงระยะเวลาในการหล่อเย็นน้ำมันขณะที่ปั๊มหยุดทำงาน

ปริมาณน้ำมันในถังน้ำมันเครื่องฉีดพลาสติก
Comparison of hydraulic oil quantity between Hybrid machine and conventional hydraulic machine
เนื่องจากเครื่องฉีดพลาสติกแบบ Hybrid ปั๊มไม่ได้ทำงานตลอดทำให้ปริมาณน้ำมันที่ใช้น้อยลงเนื่องจากไม่มีน้ำมันค้างอยู่ในระบบท่อ เปรียบเทียบกับระบบเดิมที่ปั๊มทำงานตลอดจึงมีน้ำมันค้างอยู่ในระบบจำนวนมากกว่า ทำให้เครื่องฉีดพลาสติกระบบ Hybrid ใช้น้ำมันน้อยกว่า ถังน้ำมันเล็กกว่า ส่งผลให้เครื่องมีขนาดเล็กลงประหยัดเนื้อที่มากขึ้น จากข้อมูลกราฟเปรียบเทียบจะเห็นว่า ด้วยเครื่องฉีดพลาสติก ขนาด 40 ตันด้วยกัน เครื่องฉีดพลาสติกแบบ Hybrid สามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันได้ถึง 55%

ความประหยัดพลังงาน
Energy comsumption for Hydraulic vs Hybrid vs Electric machines
จากกราฟจะเห็นว่าเครื่องฉีดพลาสติกแบบ Hybrid สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 47%

บทความลิขสิทธิ์โดย ธนเสฏฐ์ ภิญโญธนรัศมิ์ เครื่องฉีดพลาสติก.com Global Supply Industrial Ltd.,Part.…

หลัการทำงานของเครื่องอบ สำหรับเครื่องฉีดพลาสติก

การบำรุงรักษา เครื่องฉีดพลาสติก เบื้องต้น

หลักการบำรุงรักษาเครื่องฉีดพลาสติก

– ส่วนของ Electrical part หรือ ชิ้นส่วนระบบไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าในเครื่องฉีดพลาสติก เปรียบเหมือนเป็นมันสมองของเครื่องฉีดพลาสติก ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาเท่าที่ควรชิ้นส่วนไฟฟ้าอาจจะหลุดตกหล่นเนื่องจากการเปิดตู้ควบคุมหรือเกิดจากการสั่นสะเทือนของเครื่องฉีดพลาสติก ส่งผลให้เครื่องฉีดพลาสติกทำงานผิดพลาดหรือมีอาการรวนเกิดขึ้น
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาและยึดอายุการใช้งานของระบบไฟฟ้าควรมีการบำรุงรักษาในเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) ตามขั้นตอนด้านล่าง
1. ตรวจสอบขั้วและสายไฟต่างเป็นเป็นระยะะ ๆ ว่าถูกยึดแน่นมั่นคงหรือไม่
2. การเดินสายไฟภายนอกตัวเครื่องฉีด ต้องระมัดระวังอย่าให้อยู่ในจุดที่เกิดการชนกับวัสดุหรือเครื่องมืออื่น
3. กำหนดจุดตรวจสอบและยึดสายไฟที่หลุดหรือกระจัดกระจายให้อยู่รวมกัน
4. เนื่องจากระบบไฟฟ้าในเครื่องฉีดมีส่วนที่เป็นไฟแรงสูงให้ระมัดระวัง หรือเปิดเครื่องก่อนการตรวจสอบ
5. การเปลี่ยนแม่พิมพ์หรือขึ้นแม่พิมพ์เมื่อมีการต่อสายหล่อเย็นเข้าแม่ิพิมพ์ระวังอย่าให้น้ำไหลเข้าไปในตู้ control หรือตู้ควบคุมไฟฟ้าของเครื่องฉีดพลาสติก
6. ตรวจสอบอุณหภูมิภายในของตู้ control ไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไปเนื่องจากจะส่งผลต่อการทำงานของ ชุดควบคุม ที่ประกอบด้วย อุปกรณ์อิเลคทรอนิคต่าง ๆ
7. กำจัดฝุ่นที่ติดตามแผงควบคุมเป็นประจำ
8. อย่าวางอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนใด ๆ ขวางช่องระบายความร้อนของตู้ control เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของตู้ control สูงเกินไป

– ส่วนของระบบ Hydraulic
การในฉีดพลาสติก ความดันฉีดเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดคุณภาพงานฉีด ซึ่งความดันดังกล่าวมาจากประสิทธิภาพการทำงานของระบบ Hydraulic สำหรับเครื่องฉีดที่ทำงานด้วยระบบ Hydraulic ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของระบบ Hydraulic เกิดจากอุณหภูมิในการทำงานไม่เหมาะสมส่งผลต่ออุณหภูมิของน้ำมัน และสิ่งเจือปนหรือสิ่งสกปรกในน้ำมันไฮดรอลิค การบำรุงรักษาระบบส่วนในจะทำให้เราป้องกันการเสียหายของปั๊ม Hydraulic และชิ้นส่วนอื่น ๆ ความถึงการยึดอายุการใช้งานของระบบดังกล่าวด้วย
– เมื่ออุณหภูมิของน้ำมันต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ถือว่าอุณหภูมิต่ำไปควรเดินปั๊มตัวเปล่าให้อุณภูมิน้ำมันเกินกว่า 25 องศาเซลเซียสจึงเดินระบบเครื่องฉีดได้ กรณีที่อุณหภูมิสูงเกินกว่า 55 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูิมิที่สูงกว่าปกติ ไม่ควรจะเดินเครื่องฉีดเพราะจะสร้างความเสียหายได้ อุณหภูมิที่สูงกว่าปกติเกิดได้หลายสาเหตุควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อแก้ไขให้อุณหภูมิลดลง

ปกติอุณหภูมิของน้ำมันควรรักษาให้อยู่ระหว่าง 30-55 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 55 องศาเซลเซียสในระยะยาวจะทำให้เกิดปัญหาหลายประการดังนี้
1. น้ำมันเสื่อมสภาพเนื่องจากการเกิดออกซิเดชั่น
2. ความหนืดของน้ำมัน หรือ ค่า Viscosity ของน้ำมันลดลง ส่งผลให้ ปั๊มเสีย, ระบบมีการรั่วไหล ทำให้ความดันตก ส่งผลต่อไปยัง แรงปิดแม่พิมพ์และความดันฉีด ส่งผลให้ชิ้นงานไม่มีคุณภาพ
3. ระบบกันน้ำมันที่ประกอบด้วย ซีล และ โอริง ต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด

วิธีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสำหรับระบบ ไฮดรอลิคคือ
1. ทุกหกเดือนให้ทำความสะอาดระบบ Oil Cooling ในเครื่องฉีดเพื่อป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนออกจากน้ำมันตกลง
2. ตรวจสอบระดับน้ำมันให้เพียงพออยู่เสมอ และป้องกันไม่ให้ส่งสกปรกตกลงไปในน้ำมันทำให้ วาล์วต่าง ๆ ตัน และส่งผลให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคต่าง ๆ เสื่อมสภาพลงเร็วกว่าปกติ
3. น้ำมันไฮดรอลิคควรถูกเปลี่ยนทุก ๆ 3000 ถึง 4000 ชมการทำงาน น้ำมันไฮดรอลิคไม่สามารถใช้แทนกันได้กับน้ำมันหล่อลื่นเนื่องจากความหนืดต่างกัน ในการเปลี่ยนถ่านน้ำมันแนะนำว่าอย่าปนน้ำมันเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน
4. ทำความสะอาด Oil filter ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำัมัน

– ส่วนของระบบปิด-เปิดแม่พิมพ์ หรือ Mould Clamping system
ในส่วนของ Mould Clamping จะมีอายุการใช้งานค่อนข้างนานแต่ยังคงต้องมีการหล่อลื่นอยู่เป็นประจำและถูกวิธี
การบำรุงรักษาแบบป้องกันในระบบนี้ คือ
1. ตรวจสอบคู่มือและทำการหล่อลื่นด้วยเครื่องมือทุกวัน ส่วนใหญ่จะเป็นคันยกน้ำมันให้ทำวันละครั้งรวมถึงตรวจสอบจุดหล่อลื่นต่าง ๆ ว่าไม่ตันทำงานปกติ
2. ทำความสะอาด เสาสี่ต้นที่ยึดปากกาทั้งสองด้าน ให้สะอาดและหล่อลื่นด้วยน้ำมัน
3. หลีกเลี่ยงการใช้แรงมากเกินไปในการจับยึดแม่พิมพ์เพื่อยืดอายุการใช้งาน
4. ปรับต่ำแหน่งปากกา ตามความหนาของแม่พิมพ์ ขณะที่ปากกา เปิดสุดเท่านั้น
5. ควบคุมจังหวะปิดและเปิด ปากกาให้เหมาะสม ลดแรงกระแทก
6. หลีกเลี่ยงการใช้แม่พิมพ์ที่ใหญ่เกินไป
7. หลีกเลี่ยงการใช้แม่พิมพ์เล็กเกินไป เพราะจะทำให้แรงบีบเกิดขึ้นเฉพาะจุดทำให้ ปากกาและเพลาเสียหายได้
8. ก่อนขึ้นแม่พิมพ์ต้องมั่นใจว่าผิวหน้าของ ปากกาทั้งสองด้านสะอาดไม่มีสิ่งติดค้าง

– ส่วนของระบบฉีด หรือ Injection system
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือ

1. รักษาความสะอาดกระบอกสูบนำของหัวฉีด
2. ชุดฉีดโดยเฉพาะหัวฉีดต้องสะอาดและแห้ง
3. ในส่วนของการเิติมพลาสติก เช่น Hopper อย่าปล่อยให้มีเศษอย่างอื่นที่ไม่ใช้พลาสติกลงไปเช่น เศษขี้เหล็กหรืออุปกรณ์อื่น อาจป้องกันได้ด้วยการใช้แผงแม่เหล็กวางใน Hopper
4. อย่าหมุนมอเตอร์ไฮดรอลิคขณะที่อุณหภูิมิพลาสติกยังไม่ถึงจุดหลอม
5. ใช้ช่วงอุณหภูมิที่่เหมาะสมกับชนิดของพลาสติก
6. ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของชุดฉีดเป็นประจำว่ามีการยึดและขันแน่นตามมาตราฐานหรือไม่
7. ตรวจสอบทำความสะอาดชุดมอเตอร์ไฮดรอลิคและิเติมจารบี สม่ำเสมอ
8. ถ้าอุณหภูมิของพลาสติกปกติแต่ชิ้นงานมีจุดดำหรือชิ้นงานเปลี่ยนสีให้ทำการตรวจสอบสกรูว่ามีความเสียหายหรือเป็นแผลที่ผิวของสกรูหรือไม่

บทความลิขสิทธิ์โดย ธนเสฏฐ์ ภิญโญธนรัศมิ์ เครื่องฉีดพลาสติก.com Global Supply Industrial Ltd.,Part.…

ส่วนประกอบของเครื่องฉีดพลาสติก



ส่วนประกอบของ เครื่องฉีดพลาสติก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

1. ชุดฉีด (Injection Unit) ซึ่งมีส่วนประกอบย่อยที่สำคัญลงไปอีกคือ
หัวฉีด (Nozzle) ทำหน้าที่เป็นหัวฉีดพลาสติกที่สัมผัสกับรูทางเข้าพลาสติกเหลวของแม่พิมพ์ฉีด
สกรู (Screw) ทำหน้าที่ป้อนเม็ดพลาสติกเข้าสู่กระบอกฉีดเพื่อทำการหลอมเม็ดพลาสติกให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนที่จะทำการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
กระบอกฉีด (Barrel) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกที่บรรจุเนื้อพลาสติกและสกรูหัวฉีดอยู่ภายใน ภายนอกจะถูกหุ้มด้วยแผ่นความร้อน หรือ Heater
แผ่นความร้อน (Heater) ทำหน้าที่ให้ความร้อนแก่กระบอกฉีดเพื่อส่งถ่ายความร้อนไปยังเม็ดพลาสติก
กรวยเติมพลาสติก (Hopper) ทำหน้าที่รองรับเม็ดพลาสติกเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบอกฉีด มีทั้งกรวยธรรมดา และกรวยพร้อมตู้อบ ในกรณีที่เม็ดพลาสติกบางชนิดจำเป็นต้องอบเม็ดพลาสติกก่อนหลอมละลายเพื่อไล่ความชื้น
ชุดลูกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder and pistol) มีหน้าที่อัดเนื้อพลาสติกที่หลอมละลายเข้าสู่แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor) มีหน้าที่หมุนสกรูเพื่อทำการดูดเม็ดพลาสติกจาก Hopper หรือกรวยเติมเม็ดพลาสติก


2. ชุดเปิด-ปิดและจับยึดแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก (Clamping Unit) ทำหน้าที่ในการจับยึดแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และเปิด-ปิดแม่พิมพ์ ด้วยแรงที่กำหนด ประกอบด้วย แผ่นยึดแม่พิมพ์สองแผ่น ซึ่งเป็นแผ่นที่เคลื่อนที่และอยู่กับที่ โดยมีเพลาหรือ เสาเหล็กสี่ต้นบังคับตำแหน่งของแผ่นเหล็กทั้งสอง และในส่วนที่เคลื่อนที่มีกลไกในการปลดชิ้นงานติดตั้งอยู่

3. ฐานของเครื่องฉีดพลาสติก (Base) ทำหน้าที่รับน้ำหนักของอุปกรณ์ทั้งหมดรวมทั้งอุปกรณ์ไฮดรอลิคทั้งหมด ซึ่งฐานจำเป็นต้องมีความแข็งแรงสูงเนื่องจากอุปกรณ์รวมถึงแม่พิมพ์ฉีดมีน้ำหนักค่อนข้างสูง

บทความลิขสิทธิ์โดย ธนเสฏฐ์ ภิญโญธนรัศมิ์ เครื่องฉีดพลาสติก.com Global Supply Industrial Ltd.,Part.…

การเลือกขนาด เครื่องฉีดพลาสติก และการคำนวณ Clamping force

ในขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์ฉีด จำเป็นต้องการคำนวณ Clamping Force เพื่อที่จะเลือกใช้เครื่องฉีดพลาสติกที่เหมาะสมกับแม่พิมพ์นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแม่พิมพ์ชุดนั้นจำเป็นต้องใช้ Clamping force 100 ตัน จากการคำนวณในขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์ กรณีที่เรานำแม่พิมพ์ดังกล่าวไปขึ้นเครื่องฉีดพลาสติกขนาด 75 ตัว ผลที่ตามมาคือชิ้นงานไม่ได้คุณภาพตามมาตราฐานที่กำหนด เช่น ครีบที่เกิดจากรอยประกบของแม่พิมพ์ หรือชิ้นงานที่ได้มีความหนาเกินจาก Spec ที่กำหนดรวมถึงน้ำหนักที่มากกว่าที่ควรจะเป็นส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้เป็นต้น ในทางกลับการหากเรานำแม่พิมพ์ชุดดังกล่าวไปขึ้นเครื่องฉีดพลาสติก ขนาด 300 ตัน จริงอยู่อาจได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพ แต่ผลเสียเปรียบเหมือนกับการขี่ช้าจับตั๊กแตน ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นเนื่องจากเครื่องฉีดพลาสติก ขนาด 300 ตัน นั้นเปลืองไฟมากกว่านั้นเอง

ที่นี่เรามาศึกษาสูตรการคำนวณ Clamping force กัน

สูตรพื้นฐานคือ F=PxA/1000

F = Clamping force มีหน่วย เป็น Ton(ตัน)
P = ความดันภายใน Cavity หรือโพรงในแม่พิมพ์ หรือช่องว่างในแม่พิมพ์ที่เป็นเนื้อพลาสติก มีหน่วย เป็น Kg/cm2 (กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร)
A = พื้นที่หน้าตัดที่ตั้งฉากกับทิศทางการฉีดหรือหัวฉีด มีหน่วยเป็น Cm2 (ตารางเซนติเมตร)

อธิบายตัวแปรขยายความและวิธีการหา
P หรือความดันภายในแม่พิมพ์ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก, ความหนาของผนังแม่พิมพ์, อุณหภูมิของพื้นผิวแม่พิมพ์ภายใน และอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันค่าความดันดังกล่าวสามารถถูกคำนวณจากโปรแกรมที่ใช้งานการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก และที่แม่นยำที่สุดคือการติดตั้ง Sensor วัดความดันภายในแม่พิมพ์ ในกรณีที่เราไม่สามารถหาความดันได้จากโปรแกรมหรือความยุ่งยากในการติตตั้ง Sensor เราสามารถใช้ตัวเลขประมาณการจากการเก็บข้อมูล ค่าความดันภายในแม่พิมพ์โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 300 ถึง 500 kg/cm2

A คือ พื้นที่หน้าตัดที่ตั้งฉากกับทิศทางการฉีดหรือหัวฉีด คำนวณทั้งในส่วนของ Cavity หรือโพรงที่ทำให้เกิดชิ้นงานและ Runner หรือที่วิ่งของพลาสติกเหลว

ยกตัวอย่างการคำนวณ
เราจะทำการฉีดพลาสติก ที่เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ทำด้วยพลาสติก ABS มี 2 cavity มีพื้นที่หน้าตัดขวางของแต่ละ Cavity เท่ากับ 30 cm2 และของ Runner ที่ 10 cm2

ในกรณีนี้ผู้เขียนจะใช้ค่า P ที่ปลอดภัยที่สุด คือ 500 kg/cm2 เนื่องจากกรณีที่ไม่ทราบค่าทางทฤษีจากการคำนวณและไม่มีข้อมูลความดันภายใน

เพราะฉะนั้นทำการแทนค่าสูตร

F = 500x(30×2+10)/1000 = 35 ton

หมายความว่าเราควรใช้เครื่องฉีดพลาสติกสำหรับแม่พิมพ์ตัวนี้ที่ขนาด 35 ton หรือใกล้เคียง เป็นต้น

บทความลิขสิทธิ์โดย ธนเสฏฐ์ ภิญโญธนรัศมิ์ เครื่องฉีดพลาสติก.com Global Supply Industrial Ltd.,Part. …

ความรู้พื้นฐานการเกี่ยวกับ Clamping Force ของเครื่องฉีดพลาสติก

เมื่อเราทำการขึ้นแม่พิมพ์ยึดกับเครื่องฉีดพลาสติก และเริ่มการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ผ่านหัวฉีด จะเกิดแรงดันขึ้นที่พื้นผิวของแม่พิมพ์ด้านในที่สัมผัสกับชิ้นงานพลาสติก ซึ่งมันจะพยายามดันให้แม่พิมพ์ทั้งสองฝั่งคือด้านตัวผู้กับด้านตัวเมียแยกออกจากกันทำให้เกิดครีบหรือตำหนิของชิ้นงานที่รอยต่อ ด้วยปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีแรงบีบอัดแม่พิมพ์ที่เพียงพอต่อแรงต้านดังกล่าวเพื่อให้ชิ้นงานมีคุณภาพตามที่กำหนด แรงบีบอัดแม่พิมพ์ดังกล่าวเรียกว่า Clamping Force หรือเป็นแรงที่เราใช้เรียกขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกเป็นตัน เช่น เครื่องฉีดพลาสติก ยี่ห้อ Nissei ขนาด 150 ตัน หมายความว่า เครื่องฉีดพลาสติกตัวนี้มีแรงบีบอัดแม่พิมพ์ หรือ Clamping Force เท่ากับ 150 ตัน เป็นต้น

บทความลิขสิทธิ์โดย ธนเสฏฐ์ ภิญโญธนรัศมิ์ เครื่องฉีดพลาสติก.com Global Supply Industrial Ltd.,Part. …

การทำงานของเครื่องฉีดพลาสติก

injection-molding insulation

การลดค่าไฟ เครื่องฉีดพลาสติก ด้วยการหุ้มฉนวน Heater

จากปัญหาเรื่องต้นทุนที่เกิดจากเครื่องฉีดพลาสติก หลัก ๆ มาจากค่าไฟฟ้า ที่เกิดจาก Heater และ Motor โดยแบ่งสัดส่วนออกเป็น Heater 40% และ Moter 60% ในเครื่องฉีดพลาสติกที่ทำงานด้วยระบบ Hydrolic (เครื่องฉีดพลาสติกทั่วไปที่ใช้กันในประเทศไทย) ในส่วนของ Heater เราสามารถลดต้นทุนโดยการใช้ฉนวนหุ้มที่ตัวบาร์เรลหรือชุด Heater จะสามารถลดต้นทุนได้ 10%-20% จากสัดส่วนการกินไฟของ Heater…

แปลงมอเตอร์ สำหรับเครื่องฉีดพลาสติก

ลดค่าไฟ เครื่องฉีดพลาสติก ด้วยการแปลงมอเตอร์ใหม่

การแปลงมอเตอร์ใหม่ให้เหมาะกับการใช้ไฟในประเทศไทย เนื่องจากส่วนใหญ่เครื่องจักรที่ใช้ในประเทศ นำเข้าเครื่องจักรเก่ามาจากประเทศญี่ปุ่นที่ใช้ไฟ 220 volt 3 เฟส แต่ไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ไฟ 380 volt 3 เฟส ซึ่งทำให้มอเตอร์กินไฟมากกว่าปรกติ ซึ่งถ้าทำการพันมอเตอร์ให้เป็นมอเตอร์ 380 volt 3 เฟสได้จะทำให้ประหยัดไฟได้ประมาณ 30-40%…

การใช้ inverter ในเครื่องฉีดพลาสติก

ลดค่าไฟ เครืื่องฉีดพลาสติก ด้วยการใช้ระบบเป็น Inverter

เครื่องฉีดพลาสติก ที่ติดตั้งระบบ Inverter

จากปัญหาเรื่องต้นทุนที่เกิดจากเครื่องฉีดพลาสติก หลัก ๆ มาจากค่าไฟฟ้า ที่เกิดจาก Heater และ Motor โดยแบ่งสัดส่วนออกเป็น Heater 40% และ Moter 60% ในเครื่องฉีดพลาสติกที่ทำงานด้วยระบบ Hydrolic (เครื่องฉีดพลาสติกทั่วไปที่ใช้กันในประเทศไทย) ในส่วนของ Heater เราสามารถลดต้นทุนโดยการใช้ฉนวนหุ้มที่ตัวบาร์เรลหรือชุด Heater จะสามารถลดต้นทุนได้ 10%-20% จากสัดส่วนการกินไฟของ Heater ในส่วนของ Motor ที่เป็นตัวกินไฟถึง 60% เราสามารถปรับปรุงด้วย Technology Inverter ซึ่งหลังจากการติดตั้ง Inverter แล้วจะทำให้ประหยัดไฟได้ถึง 30%-40% จากสัดส่วนการกินไฟของ Heater อีกวิธีหนึ่งคือ เช่นกัน…

Powered by WordPress | Designed by: Best SUV | Thanks to Toyota SUV, Ford SUV and Best Truck